โดยธรรมชาติเด็กทารกแรกเกิดจะใช้เวลากับการนอนมากถึงวันละ 16 ชั่วโมง และมักตื่นมาทุก 3-4 ชั่วโมงเพื่อกินนม จนเมื่อเด็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป จะสามารถหลับกลางคืนได้ยาวนานขึ้น แต่ก็พบว่าเด็กส่วนหนึ่งยังคงหลับยากและตื่นมาร้องงอแงในตอนกลางคืนบ่อยๆ มาดูสาเหตุกันค่ะว่าเกิดจากปัจจัยใดบ้างเพื่อจะได้หาทางแก้ไขได้ถูกต้อง
บางกรณีลูกหลับยาก ตื่นบ่อยนั้น อาจเกิดจากความไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวจากอาการแพ้โปรตีนนมวัว ซึ่งในเด็กกินนมแม่อาจแพ้จากนมหรืออาหารที่แม่กินเข้าไปแล้วส่งผ่านทางน้ำนมแม่ ส่วนเด็กที่กินนมผงก็แพ้โปรตีนนมวัวในนมผงนั่นเอง กรณีนี้มีแนวทางแก้ไขดังนี้
ทารกตื่นทุกชั่วโมง เกิดจากอะไร
ทารกตื่นทุกชั่วโมง เป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายคืนจนพ่อกับแม่แทบจะไม่ได้พักผ่อนเลย ลูกจะเป็นแบบนี้อีกนานไหมน้า พ่อแม่ได้แต่กังวลใจ เนื่องจากทารกส่วนใหญ่มักจะตื่นนอนกลางคืนและส่งเสียงร้องงอแงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีนักวิทยาศตร์บางท่านได้กล่าวว่าอาการเหล่านี้ของเด็กเป็นอาการที่แสดงถึงพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กช่วงอายุหนึ่งเท่านั้นค่ะ
นอกจากนี้ สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยตื่นบ่อย ได้แก่ อาการหิว ปวดท้อง ทารกยังแยกเวลาไม่ได้ เจ็บปวดจากการที่ฟันจะขึ้น รู้สึกไม่สบาย และผ้าอ้อมเปียกชื้นค่ะ ซึ่งถ้าลูกน้อยเกิดร้องไห้งอแงเมื่อไหร่ แนะนำให้พ่อแม่ค่อยๆ หาสาเหตุว่าลูกน้อยร้องไห้เพราะอะไร จากสาเหตุข้างต้นนี้ค่ะ
เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้คุณแม่มือใหม่ ทั้งเหนื่อย ทั้งง่วง ทั้งเจ็บระบมหัวนมไปหมดแล้ว ตกใจ เครียด กังวล ร้องไห้จนน้ำตาออกมามากกว่าน้ำนมเสียอีก สับสนเพราะจะให้ดูดตลอดเวลาและอุ้มลูกไว้ตลอดเวลาเพื่อทำให้ลูกเงียบ แต่คนที่บ้านก็จะบอกว่า
“อย่าอุ้มเยอะ เดี๋ยวติดมือ”
“เนี่ยะ สงสัยนมไม่พอ ให้เสริมนมผงดีกว่า”
ลูกตื่นบ่อยเพราะนมไม่พอจริงไหม
ไม่จริงค่ะ ถ้าอึฉี่ครบ น้ำหนักขึ้น 20 กรัม/วัน ใน 3 เดือนแรก ขึ้น 15 กรัม/วัน ในช่วง 4-6 เดือน และขึ้น 10 กรัม/วัน ในช่วง 6-12 เดือน.เด็ก3เดือนแรกตื่นบ่อยเป็นเรื่องปกติแต่ถ้าโตเกิน 6 เดือนแล้ว คุณแม่อยากจะฝึกให้ไม่ตื่นมาดูดกลางดึกก็ทำได้ค่ะ ทุกเรื่องคุณพ่อคุณแม่ทำได้ทั้งนั้นถ้าใจต้องการค่ะ
ทางแก้เบื้องต้นช่วยทารกแรกเกิดหลับง่าย
อุ้มลูกบ่อยๆ เนื้อแนบเนื้อ แก้ผ้าลูกได้เลยค่ะ เพราะร่างกายแม่จะให้ความอบอุ่นแก่ลูก จะเป็นการทำให้ลูกปรับตัวกับโลกใบใหม่ได้เร็วขึ้น และช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมแม่ได้ดีขึ้น
ทำใจไว้เลยว่า ลูกจะขอดูดนมตลอดเวลา ไม่เหมือนตอนอยู่รพ.2-3 วันแรกที่ลูกจะหลับเยอะ เนื่องจากยังไม่รู้ตัวว่าคลอดออกมาจากท้องแม่แล้ว แต่ตอนกลับบ้าน ลูกรู้ตัวแล้วและน้ำหนักลดลงมา 5-10% เค้าจะหิวโซเหมือนหมีออกจากถ้ำหลังจากจำศีลมานาน จึงขอดูดตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมให้คุณแม่ด้วย เพราะยิ่งดูดบ่อย น้ำนมยิ่งมาเร็ว แต่ถึงแม้ว่าลูกจะได้น้ำนมเพียงพอแล้วก็ตาม เราทราบได้จากอึครบ 2 ครั้ง/วัน ฉี่ครบ 6 ครั้ง/วัน ลูกก็ยังต้องการดูดนมตลอดเวลาเพื่อความอบอุ่นใจว่าได้อยู่ใกล้ๆแม่ ก็แหม..หนูอยู่กับแม่ตลอดเวลามานาน 9 เดือน อยู่ๆแม่หายไปไหน
อย่าสนใจปริมาณน้ำนมจะมากจะน้อยก็ตาม บางคนใช้วิธีปั๊มนมเพื่อพิสูจน์ว่า มีน้ำนมในเต้ามากน้อยเพียงใด วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่ควรทำค่ะ ช่วงแรกเกิดกระเพาะเด็กขนาดเท่าผลเชอรี่ ไม่ต้องการปริมาณน้ำนมเยอะๆ ต้องการแค่เป็นหยดๆ แต่ต้องการบ่อยๆ เพราะขนาดกระเพาะเล็กจึงเต็มเร็ว แต่แป๊บเดียวก็ใช้หมด จึงต้องใช้วิธีเติมบ่อยๆ ช่วง 3-4 วันแรกเป็นน้ำนมเหลือง หรือคอลอสตรัม จะหนืดๆ ปั๊มไม่ค่อยออกค่ะ แต่ลูกดูดจะได้เข้าไปเอง ถ้าอึฉี่ครบ แปลว่าได้น้ำนมพอค่ะ
วิธีทําให้ลูกหลับง่ายตอนกลางคืน
- จำกัดเวลานอนกลางวัน เด็กที่นอนสลับเวลา ไม่จำเป็นต้องนอนเยอะในช่วงตอนกลางวัน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามไม่ให้ลูกนอนเกิน 1 ชั่วโมง มากกว่า 2 – 3 ครั้ง ในตอนกลางวัน
- ไม่ควรให้ลูกนอนหลังบ่าย 3 หากลูกนอนสลับเวลา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกนอนหลังจากบ่าย 3 โมง เพื่อที่ลูกจะได้รู้สึกเหนื่อยและง่วงในตอนกลางคืน
- พาลูกออกไปสูดอากาศ พาลูกออกไปสูดอากาศนอกบ้าน รับแสงแดดอ่อน ๆ จะทำให้รู้สึกสดชื่น และคุณแม่เองก็จะได้ออกกำลังกายไปด้วย
- ทำบ้านให้สว่าง ทำบ้านให้สว่างในตอนกลางวัน โดยการเปิดม่าน หรือเปิดไฟ
- เล่นกับลูก เล่นกับลูกให้ลูกได้ขยับแข้งขยับขาบ้าง และพยายามคุยกับลูกเพื่อให้ลูกตื่นตัวอยู่เสมอในตอนกลางวัน
คุณแม่บางท่านรีบให้อาหารแข็ง เพราะคิดว่าเป็นอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อลูก แม้ว่าการให้อาหารแข็งจะทำให้ลูกมีโอกาสน้อยที่จะตื่นระหว่างคืน แต่การให้อาหารแข็งเร็วเกินไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้อาหารและส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นการขัดขวางการนอนหลับ ดังนั้นทารกเกิดใหม่ยังไม่ต้องการอาหารแข็งจนกว่าจะอายุครบ 6 เดือน
ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางที่ช่วยให้ลูกหลับยาวตลอดทั้งคืน แต่เด็กทุกคนก็มีลักษณะแตกต่างกันจึงเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าวิธีไหนเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ