อาการตะคริว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อหดเกร็งอย่างรุนแรง อาจเกิดได้ในกล้ามเนื้อหลาย ๆ ส่วนของร่างกาย เช่น ตะคริวน่อง ตะคริวขา ตะคริวเท้า ตะคริวท้อง เป็นต้น และอาการตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ เพศหญิง และเพศชาย โดยเฉพาะกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ความรุนแรงจะมากน้อยแค่ไหน มีวิธีบรรเทาหรือไม่ หรือมีวิธีช่วยป้องกันอย่างไร มาติดตามกัน

อาการตะคริวคนท้อง มักมาจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นของคุณแม่ตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ต้องคอยแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น หรือมดลูกขยายใหญ่ขึ้น จึงอาจไปกดทับเส้นเลือดจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก รวมไปถึงฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปของคุณแม่ตั้งครรภ์นั่นเอง
คนท้องเป็นตะคริวตอนกี่เดือน
รวบรวมความเห็นจากโลกออนไลน์ในเว็บ pantip หัวข้อกระทู้ “ใครตั้งครรภ์แล้วเป็นตะคริวบ้างคะ”
กระทู้คำถาม
เราตั้งครรภ์ได้ 6 เดือนครึ่งได้แล้ว เป็นตะคริวอาทิตย์นี้เป็นสองครั้งแล้ว อยากทราบว่าใครเป็นเหมือนกันบ้าง แล้วมีวิธีรักษาอย่างไรคะ
ต้องขอบอกเลยนะคะว่าเราไม่กินผักเลยค่ะ พยายามจะกินแต่ก็กินไม่ได้อวกออกมาทุกทีเลยยย นมก็ดื่มไม่ได้คะ อาเจียนออกมา
ความคิดเห็นที่ 2
ตอนนี้9เดือนแล้ว เริ่มเป็นตั้งแต่ตอน8เดือนค่ะ
ความคิดเห็นที่ 7
เป็นบางครั้งเวลาลืมตัวบิดขี้เกียจ ก็พยายามมีสติไม่บิดตัวแรงๆเร็วๆ
คุณหมอถามเรื่องตะคริวตอนเข้าเดือนที่ 5 แล้วจ่ายแคลเซียมเม็ดเพิ่มให้ค่ะ
ก็ช่วยได้นะคะ ถ้าไม่ลืมตัวบิดขี้เกียจเอง ไม่เจอตะคริวกวนใจเลย
ความคิดเห็นที่ 15
ตอนท้องแรกเป็น 2ครั้งช่วง 7-8เดือน
ตอนนี้ท้องสอง เป็นครั้งแรก ตอน 4เดือนครึ่งค่ะ ที่น่อง สามีนวดให้ ง้างปลายเท้าขึ้นเหมือนรูป คห.8 กับนวดๆตรงจุดที่เป็น สัก 30วินาทีก็หาย
จะเห็นได้ว่าอาการตะคริวของคุณแม่ตั้งครรภ์แต่ละคนนั้นเริ่มเกิดเดือนไหนนั้นไม่สามารถบอกได้ ไม่ว่าจะท้องอ่อน ท้องแก่ เพราะอาการนี้แต่ละคนจะเกิดอาการช่วงไหนก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ควรเตรียมรับมือกันเอาไว้แต่เนิ่น ๆ จะดีกว่านะคะ
สาเหตุของอาการตะคริวเกิดจากอะไร
- ขาดสารอาหารเช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซียม เพราะขณะตั้งครรภ์ทารกในครรภ์จะดึงแคลเซี่ยมจากแม่ไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน ทำให้คุณแม่ขาดแคลเซี่ยมนั่นเอง
- ร่างกายขาน้ำและความผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย
- เลือดไหลเวียนไม่สะดวก เช่น การนั่งขดขาในท่าเดิมเป็นเวลานาน
- ท้องขยายขนาดมากขึ้น มดลูกจึงไปกดทับตรงตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณน่องขาดออกซิเจน ทำให้เกิดเป็นตะคริวได้
วิธีบรรเทาเมื่อมีอาการตะคริวน่อง
ให้เหยียดขาข้างที่เป็นตะคริวออกให้สุด ใช้มือข้างหนึ่งจับปลายเท้า ดันปลายเท้าขึ้นค้างไว้ ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อย ๆ ๆ ปล่อย อย่าปล่อยเร็วเพราะอาจทำให้กลับมาเป็นอีก
วิธีป้องกันการเกิดตะคริว

- ยืดกล้ามเนื้อก่อนนอนเบาๆโดยการยืดขา เป็น เวลา 30 วินาที เบาๆ ประมาณ ข้างละ 5 ครั้ง
- เปลี่ยนท่าบ่อยๆขณะนั่งหรือทำกิจกรรมที่ต้องอยู่ในท่าเดิม
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอวันละ 8 แก้ว (หากเป็นน้ำอุ่นได้จะดีมาก)
- คนท้องเป็นตะคริวควรรับประทานอาหารเเคลเซี่ยมสูง เช่น ปลาตัวเล็ก, ผักใบเขียว, นม เป็นต้น
- นอนแตะเเคง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเสี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ดีขึ้น
- หลีกเลี่ยงการอยุ่ในสภาพอากาศที่เย็นจัดหรือการนอนตากแอร์เป็นเวลานาน ๆ
ไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์พบว่าสามารถเกิดอาการตะคริวได้บ่อยกว่าช่วงอื่น ๆ โดยปกติหากอาการปวดที่ไม่รุนแรงจะไม่ส่งผลต่อทารกในครรภ์ แต่หากเป็นถี่และความหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อรุนแรงจนทำให้เจ็บมาก แนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไปนะคะ

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ มีอาการปวดตัว ปวดหลัง ปวดหน่วง บริเวณท้อง เดินเยอะ ยืนนาน หรือ ต้องกุมท้องช่วยพยุงตลอดเวลา ทาง Mama Beyond มีตัวช่วยมาแนะนำ Mama Beyond เข็มขัดพยุงครรภ์ นวัตกรรมจากสหรัฐอเมริกา ช่วยให้หายปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เบาสบาย เดินได้คล่องขึ้น สนใจสั่งซื้อ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mamabeyond.com/