
เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้ เป็นปัญหาที่คุณแม่หลายๆ ท่านเป็นกันมาก จนทำให้เกิดความรำคาญ และ กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะบางคนเป็นถึงขั้นหุบแขนไม่ลง และมีอาการเจ็บนั้น สาเหตุมาจากอะไร เป็นอันตรายหรือไม่ มีวิธีบรรเทาและรักษาได้ไหม มาติดตามกันได้เลย
อาการของเต้านมส่วนเกินใต้รักแร้
ส่วนมากเต้านมส่วนเกินจะทำให้รู้สึกเพียงว่ามีก้อนเนื้อเยื่ออยู่ที่รักแร้ บางคนมีอาการปวดคัดตึงบริเวณก้อนเนื้อนี้ตามรอบเดือนได้เหมือนกัน เนื่องจากเนื้อเยื่อนี้มีลักษณะของเนื้อเยื่อเต้านมทุกอย่าง ฉะนั้นโรคของเต้านมทุกโรคสามารถเกิดขึ้นที่เต้านมพิเศษ ตรงรักแร้นี้ได้ ตั้งแต่โรคธรรมดา ไปจนถึงเป็นมะเร็งได้
ก้อนใต้รักแร้ สาเหตุเกิดจากอะไร
จู่ๆ ก็มี เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้ เพิ่มเข้ามา เจ้าเต้านมที่เกินมา ตรงใต้รักแร้นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร สรุปสาเหตุของการเกิดเต้านมส่วนเกิน ได้ตามนี้เลย
ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ในบางรายตุ่มใต้ผิวหนังในบริเวณอื่นๆ ที่นอกจากหน้าอก อาจจะไม่ฝ่อและสลายตัวไปอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะทำให้เกิดเต้านมเกินขึ้นได้ แพทย์จะเรียกว่า เต้านมรักแร้
เกิดจากสาเหตุภายนอกอื่นๆ ทั้งจากการใส่เสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่รัดจนเกินไป จนบีบเนื้อบริเวณเต้านม ทำให้เกิดเป็นเต้านมส่วนเกินได้ และอายุที่มากขึ้นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
เต้านมส่วนเกินอันตรายหรือไม่?

การมีเต้านมส่วนเกินจะไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย เพียงแต่อาจส่งผลต่อจิตใจและรูปลักษณะเมื่อต้องการใส่เสื้อผ้าให้สวยงาม ในบางคนอาจพบอาการปวด คัด ตึงบริเวณนั้นในช่วงก่อนหรือมีประจำเดือน ในช่วงตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร บางครั้งอาจทำให้รู้สึกตึงหรือเจ็บได้ แต่ไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนมให้บุตร
วิธีการรักษา เต้านมส่วนเกินใต้รักแร้
- ใส่ชุดชั้นในที่มีขอบกั้นข้างลำตัว ป้องกันไม่ให้เนื้อไหลหรือถูกเบียดมาด้านข้าง เลือกที่มีคุณภาพ การตัดเย็บที่ช่วยเก็บเนื้อไว้ในชุดชั้นในได้ทั้งหมด หลีกเลี่ยงชุดชั้นในที่ไม่มีสาย ทำให้เนื้อกระจาย
2. ควรนวดหน้าอกอย่างสม่ำเสมอ โดยพยายามไล่เนื้อหน้าอี่อยู่ด้านข้างลำตัวมาด้านหน้า เพื่อช่วยแก้ปัญหาเนื้อล้นได้
3. ระวังท่านอน เพราะการนอนหงายหรือนอนคว่ำตลอด จะทำให้เกิดเนื้อล้นใต้วงแขน หน้าอกห่าง หรือหน้าอกสองข้างไม่เท่ากันได้ ดังนั้น ควรเปลี่ยนท่านอน หรือนอนตะแคงบ้าง
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้ดี
5. ร้อยไหมละลาย ใต้ชั้นผิวหนังเต้านมส่วนเกิน จำนวนเข็มขึ้นอยู่กับสภาพและขนาดไขมัน เพื่อให้เกิดการดึงรั้งผิว ให้ผิวกระชับ สร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวบริเวณนั้นแข็งแรง เต่งตึง ปลอดภัย
6. ดูดไขมัน เหมาะกับเต้านมส่วนเกินระดับปานกลาง มีเนื้อเยื่อส่วนเกินติดกับเต้านมปกติ นำเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นท่อ เจาะเข้าใต้ผิวหนัง ต้องเปิดแผลขนาด 1 เซนติเมตร แล้วดูดไขมัน
7. การผ่าตัด เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเต้านมเกินจำนวนมาก แพทย์จะเปิดแผลข้อพับรักแร้ แล้วผ่าเอาเนื้อส่วนเกินออก จากนั้นก็ปิดแผล ทำให้เกิดแผลใหญ่ ยาว ใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า 6 เดือน

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เดินเยอะ ยืนนาน หรือมีอาการปวดตัว ปวดหลัง ปวดหน่วง บริเวณท้อง ต้องกุมท้องช่วยพยุงตลอดเวลา ทาง Mama Beyond มีตัวช่วยมาแนะนำ Mama Beyond เข็มขัดพยุงครรภ์ นวัตกรรมจากสหรัฐอเมริกา ช่วยให้หายปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เบาสบาย เดินได้คล่องขึ้น สนใจสั่งซื้อ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mamabeyond.com/