ความเจ็บป่วย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ยิ่งผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ยิ่งเสี่ยงที่จะเจ็บป่วย หรือมีอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ง่าย ซึ่งหลายครั้งที่แม่ท้องก็มักจะซื้อยามากินเอง ไม่รู้ว่าในช่วงตั้งครรภ์นั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองหากไม่ได้ปรึกษาคุณหมอโดยเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลร้ายต่อลูกในท้องแบบคาดไม่ถึงได้

วีดิโอแนะนำเพิ่มเติม แม่หมอขอบอก : ยาอะไร “ใช้ได้” “ใช้ไม่ได้” ในคุณแม่ตั้งครรภ์ Cr. doctorkatekate channel
ยาแก้ปวด ลดไข้
ในช่วงท้องอ่อน ๆ คุณแม่กินยาแก้ปวด ลดไข้อย่างเช่น แอสไพริน ไอบูโรเฟน รวมถึงยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อาจมีผลต่อการแข็งตัวของเลือด และเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้ถึง 5-6 เท่า และหากกินตอนใกล้คลอด ก็อาจจะไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้คุณแม่คลอดเกินกำหนดและคลอดยากขึ้นอีกด้วย
ยาแก้คัน แก้แพ้
ยาแก้แพ้ แก้คัน อย่างเช่น คลอเฟนิรามีน ถ้าใช้เพียงชั่วคราว ก็อาจจะไม่ส่งผลต่อแม่ท้องมากนัก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันไปนาน ๆ ก็จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ อาจส่งผลให้ลูกที่เกิดมามีอาการเลือดไหลผิดปกติ และยาแก้แพ้บางชนิดก็อาจทำให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดได้ด้วย
ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ
ยาบางชนิดในกลุ่มนี้ จะส่งผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกน้อยโดยตรง อาจส่งผลให้การเจริญเติบโตของกระดูกและฟันไม่สมบูรณ์ และพัฒนาการสมองผิดปกติ ถ้าแม่ตั้งครรภ์ทานยากลุ่มนี้ในช่วงที่ มีอายุครรภ์ระหว่าง 6 – 8 เดือน อาจมีผลทำให้เด็กมีกระดูกและฟันไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ถ้าใช้ในปริมาณที่สูงมาก จะเกิดการทำลายตับของคุณแม่อย่างรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
ยาที่ทำให้ลูกหูตึง หูหนวก และทำให้ประสาทเกี่ยวกับการได้ยินเสียไปบางส่วน ได้แก่ สเตรปโตมัยชิน, กานามัยซิน, เจนตามัยซิน และซัลโฟนาไมด์ ซึ่งหากคุณแม่ทานยาเหล่านี้ขณะตั้งครรภ์ 2 – 3 สัปดาห์ เวลาที่คลอดออกมาอาจทำให้ลูกน้อยตัวเหลืองได้
ยานอนหลับ ยาคลายเครียด
ยานอนหลับ และยาคลายเครียด เช่น อัลปราโซแลม, ไดอาซีแพม อาจทำให้ทารกมีอาการปากแหว่งเพดานโหว่ได้ นอกจากไม่ควรกินตอนท้องแล้ว ยังควรหยุดใช้ยาก่อนการตั้งครรภ์อย่างน้อย 3-6 เดือน
ยารักษาผมร่วง
ยาแก้ผมร่วง เช่น ฟิแนสเทอไรด์ อาจส่งผลทำให้อวัยวะเพศของทารกในครรภ์ผิดปกติได้
ยาสเตียรอยด์ทุกชนิด
ยาสเตียรอยด์ส่งผลทำให้มีโอกาสการแท้งบุตรเพิ่มมากขึ้น ทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตไม่ดี หรืออาจทำให้เด็กในครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ นอกจากนี้ยาสเตียรอยด์บางชนิดยังมีผลทำให้ทารกเพศหญิงมีลักษณะของเพศชายอีกด้วย
ยารักษาสิวบางตัว
มีแผนที่จะตั้งครรภ์ต้องหยุดทานวิตามินเอ หรือมีอนุพันธ์ของวิตามินเออย่างน้อย 3 เดือนถึง 1 ปี เพราะสามารถสะสมในร่างกายได้ และหากแม่ท้องทานยาที่ใช้รักษาสิวหัวช้าง และสิวชนิดรุนแรง ยาดังกล่าวก็อาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์โดยตรง โดยอาจทำให้ลูกน้อยพิการแต่กำเนิดได้ ถึงแม้ว่าทารกที่คลอดออกมาจะดูปกติก็ตาม8. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
ถ้าแม่ท้องกินยาลดกรดชนิดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก ๆ ติดต่อกันเป็นประจำ ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เด็กแรกเกิดมีปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียมในเลือดสูงจนเกิดอาการชักกระตุกได้
ยาทาภายนอกมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่

โดยทั่วไปแล้วยาทาภายนอกจะออกฤทธิ์เฉพาะบริเวณที่เราทา การดูดซึมเข้ากระแสเลือดค่อนข้างต่ำ จึงมีโอกาสน้อยที่จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ แต่อยางไรก็ตาม ก็ไม่ควรประมาท ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงจะดีที่สุด
ถ้าคุณแม่รู้ตัวว่ากินยาอะไรในช่วงก่อนการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นยาคุมกำเนิด ยานอนหลับ หรือยาอะไรก็แล้วแต่ที่คุณแม่รับประทานอยู่ สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือ รีบไปฝากครรภ์ และแจ้งคุณหมอที่ดูแลว่าได้กินยาตัวใหนในช่วงก่อนตั้งครรภ์อยู่ เพื่อที่คุณหมอจะได้ติดตามและประเมิณผลต่อไป นอกจากนี้แล้ว ขอให้นึกเสมอว่าคุณกำลังตั้งครรภ์และไม่ควรใช้ยาใด ๆ ทั้งสิ้นโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในท้องนั่นเอง
ยาประเภทเหล่านี้ควรให้คุณหมอเป็นผู้สั่งยาเท่านั้น แม่ท้องไม่ควรซื้อมารับประทานเอง เพราะบางชนิดอาจทำให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดได้

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เดินเยอะ ยืนนาน หรือมีอาการปวดตัว ปวดหลัง ปวดหน่วง บริเวณท้อง ต้องกุมท้องช่วยพยุงตลอดเวลา ทาง Mama Beyond มีตัวช่วยมาแนะนำ Mama Beyond เข็มขัดพยุงครรภ์ นวัตกรรมจากสหรัฐอเมริกา ช่วยให้หายปวดหลังขณะตั้งครรภ์ เบาสบาย เดินได้คล่องขึ้น สนใจสั่งซื้อ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.mamabeyond.com/