เรื่องน่ารู้สำหรับคนท้องปวดหลัง

เรื่องน่ารู้สำหรับคนท้องปวดหลัง: รับมืออย่างไรให้หายขาด

คนท้องปวดหลัง ปวดขา: อาการปกติที่แม่ท้องแก่ควรรู้

ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะมีอาการปวดบริเวณหลังเหนือสะโพก และร้าวลงมาที่ขาทั้งสองข้าง และอาจมีอาการปวดบริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับหรือตำแหน่งที่เจ้าตัวน้อยอยู่ วิธีที่จะช่วยคุณแม่บรรเทาอาการปวดสะโพกร้าวลงขา ในท่านั่ง แนะนำให้คุณแม่นั่งในท่าขัดสมาธิหรือใช้หมอนหนุนที่ด้านหลัง ส่วนท่านอนของแม่ท้อง แนะนำให้นอนในท่าตะแคงซ้ายจะช่วยให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายได้ดีขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการยกของหนัก

คนท้องปวดหลังตรงไหน: ทำไมคนท้องถึงปวดหลัง

ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงมากช่วงตั้งท้องเพื่อปรับให้เตรียมพร้อมต่อการเลี้ยงดูและขั้นตอนการให้กำเนิดลูกน้อยในท้องของคุณ เส้นเอ็น ข้อต่อและกล้ามเนื้อของคุณแม่ท้องจะยืดขยายและอ่อนนุ่มลง บวกกับอายุครรภ์ที่มากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือนที่ต้องแบบรับด้านหน้า

ทำให้กล้ามเนื้อหลังเกร็งและกระดูกสันหลังแอ่นเพื่อรักษาสมดุลย์และรับน้ำหนักทั้งหมดไว้ พอกล้ามเนื้อเกร็งและกระดูกสันหลังแอนมากนานๆ คนท้องจึงมีอาการปวดโดยเฉพาะช่วง 3 เดือนก่อนคลอด บางคนอาจมีอาการปวดร้าวไปถึงเชิงกราน ก้นกบและขาได้ ถือเป็นความทรมานปรกติที่คนท้องต้องเจอ

อาการปวดหลังของแต่ละคนอาจไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอาชีพ และสุขภาพของแม่ก่อนตั้งท้องด้วย คุณแม่ท้องที่ต้องทำงานที่เดินมากๆ นั่งหรือยื่นนานๆก็จะทำให้มีอาการปวดหลังมากกว่าคนท้องที่ทำงานเบาๆ หรือหากคุณแม่มีปัญหาที่กระดูกสันหลังตั้งแต่ก่อนตั้งท้องก็อาจทำให้มีอาการปวดหลังได้ตั้งแต่เริ่มท้องเลยก็ได้

คนท้องปวดหลังนวดได้ไหม

ปัจจุบันมีการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเข้าสปาเพื่อไปนวดตัว นวดคอบ่าไหล่ได้นะคะ เช่นเดียวกับการนวดเท้า ที่คนท้องสามารถนวดได้เช่นกัน แต่ควรเลือกร้านที่มีผู้เชี่ยวชาญในการนวดสำหรับคนท้องโดยเฉพาะ เพราะวิธีการนวดจะไม่เหมือนปกติทั่วไป จึงควรเลี่ยงการนวดกดจุดสะท้อนในบริเวณต่าง ๆ เพราะอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ได้

หากคุณแม่เลือกนวดน้ำมัน ควรเลือกใช้น้ำมันที่ไม่มีกลิ่น เพราะกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยบางตัวจะมีผลต่อครรภ์ และที่สำคัญเมื่อมาทำการนวดทุกครั้งควรแจ้งถึงระยะเวลาการตั้งครรภ์ให้พนักงานทราบด้วย

คนท้องปวดหลังช่วงไหน

คุณแม่อาจมีอาการปวดหรือเจ็บหลังช่วงล่างแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งอาการปวดแบบนี้อาจหมายถึงการผ่อนคลายหรือการยืดหยุ่นมากขึ้นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก็ได้ ทั้งนี้อาการปวดหลังอาจเกิดขึ้นได้กับคุณตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นและศูนย์กลางของการทรงตัวของคุณแม่เปลี่ยนไป จึงทำให้ท่าทางในการยืน การนั่ง หรือการเดินของคุณมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย

อาการปวดหลังของคนท้องอ่อนๆ: รวบรวมความเห็นจากโลกออนไลน์

จากกระทู้ Pantip “ท้องอ่อนๆๆ มีอาการปวดหลังมั้ย อยากรุ้อาการคนท้องค่ะ”

ความเห็นที่ 1

เราว่าไม่น่าท้องน่ะค่ะ ถ้าเคลื่อน 8 วันแล้วขึ้นขีดเดียว เพราะ เราขาดไป 9 วัน ก็ขึ้นขีดเดียว เลยไปเจาะเลือดตอนเช้า วันเจาะเลือดตอนเย็นเมนส์มาเลยค่ะ

ความเห็นที่ 2

ตอนเราท้อง เราว่าไม่มีอาการเจ็บอะไรเลยนะ ปกติทุกอย่าง
แต่อาจมีความดันต่ำ แบบก้มทำอะไร แล้วหน้ามืด

มันจะแสดงอาการตอนที่เดือนที่ 3 เริ่มวิงเวียน พะอืดพะอมจนถึงเดือนที่ 5
ค่อยเริ่มกินแล้วไม่อ้วก แต่ก็ไม่อร่อย ถึงเดือนที่เจ็ดกว่าๆ เริ่มรู้สึกไม่ไหวละ ท้องจะปริ
ชักไม่แน่ใจว่าจะรอจนครบกำหนดคลอดได้ รู้สึกแน่นไปหมด คิดอยู่ได้ 3 วัน คลอดเลยค่ะ

นึกดีใจ ว่าไม่ต้องอุ้มไปอีกเดือนกว่า 5555
หลังคลอดก็อดหลับอดนอน เดี้ยงไปอีกหลายเดือนค่ะ

เดี๋ยวนี้สบาย ลั่นล้ามากเลย ^^

ปล. คนท้องมีอาการไม่เหมือนกัน ตอน ปจด ขาดได้ 10 วัน เราก็ไปฝากท้องเลยค่ะ

ปวดหลัง ตกขาว ประจำเดือนไม่มา ใช่สัญญาณอาการคนท้อง 1 เดือนหรือเปล่า?

โดยปกติแล้วอาการปวดหลังจะเกิดขึ้นหลังจากครรภ์มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมารดาจะต้องรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่อาการในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

อาการตกขาว เป็นอาการที่พบได้ปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน หนึ่งในนั้นคือฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น ตกขาวจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ได้เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์ที่แน่นอน เพราะตกขาวอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อ เป็นต้น

ประจำเดือนไม่มา ก็อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ เช่น ความเจ็บป่วย หรือความเครียด หรือความผิดปกติของมดลูก ดังนั้น วิธีที่มีความแม่นยำที่สุดที่จะบอกว่าตั้งครรภ์หรือไม่ คือการใช้ชุดตรวจสอบการตั้งครรภ์

หากต้องการตั้งครรภ์ ต้องดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร?

หากต้องการตั้งครรภ์ ต้องดูแลตัวเองเบื้องต้นอย่างไร

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนมีบุตร แพทย์จะแนะนำให้รับประทานกรดโฟลิก (folic acid) ขนาด 400 ไมโครกรัม/วัน ในช่วงก่อนการเริ่มตั้งครรภ์ 2-3 เดือน และให้รับประทานกรดโฟลิกต่อเนื่องไปจนครบไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defect (NTD)) ของทารกในครรภ์

เพราะฉะนั้น การปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนในการตั้งครรภ์ เป็นทางเลือกที่ดี และเหมาะสมที่สุด ที่จะช่วยให้ทารกในครรภ์สามารถคลอดออกมาได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อาการปวดหลังของคนท้อง8เดือน

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ 8 เดือน

การตั้งครรภ์เดือนที 8 แพทย์จะนัดทุกสองสัปดาห์และจะตรวจร่างกายเหมือนเดือนที่ 5 คุณแม่ในช่วงเดือนนี้ มักตรวจพบอาการไม่สุขสบายหลายอย่าง ที่พบบ่อยคือ

1. หายใจตื้น หายใจขัด หายใจไม่อิ่ม  เนื่องจากมดลูกจะบีบตัวมากขึ้น และยอดมดลูกที่สูงขึ้นไปเบียด กดทับกระบังลม ทำให้คุณแม่หายใจไม่สะดวก แนะนำให้นั่งตัวตรง หนุนหลังด้วยหมอนนุ่มๆ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ แบ่งมื้ออาหารเป็นหลายๆมื้อ แต่และมื้อไม่ควรรับประทานอิ่มมากเกินไป 

2.เจ็บอวัยวะเพศและหัวหน่าว เกิดจาก เชิงกรานขยาย และทารกเริ่มกลับศรีษะแล้ว ทำให้ศรีษะของทารกไปกดเสินประสาทบริเวณอุ้งเชิงกรานทำให้คุณแม่มีอาการปวดมากขึ้น ลดการเดิน นอนพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการปวดต่างๆไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบสูติแพทย์  

3.ท้องแข็ง ท้องปั้นบ่อย เกิดจากการบีบตัวของมดลูก สามารถเกิดขึ้นได้แม้แต่ผู้หญิงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ โดยสังเกตได้จากอาการปวดท้องเวลามีประจำเดือน ส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกจะขยายใหญ่ขึ้น และการบีบตัวก็จะมีมากขึ้น จนทำให้คุณแม่รู้สึกปวดท้องหรือท้องแข็งนั่นเอง ซึ่งเกิดจากเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกขาดเลือด คุณแม่จึงรู้สึกเจ็บๆ ตึงๆ ที่ท้อง ธรรมชาติมดลูกจะบีบตัวมากที่สุดตอนจะคลอดค่ะ แต่ถ้าคุณแม่มีอาการท้องแข็งหรือปวดท้องมากทั้งๆที่ยังไม่ถึงกำหนดคลอด อาจเป็นสัญญาณเตือของการคลอดก่อนกำหนดได้

4.มือเท้าบวม

ในช่วงกลางของไตรมาสที่สอง และในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่อาจมีอาการบวมตามนิ้วมือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้มดลูกที่ขยายตัวขึ้น อาจไปกดทับเส้นเลือดที่ลำเลียงเลือดจากร่างกายส่วนล่างกลับสู่หัวใจ ระบบการไหลเวียนเลือดจึงช้าลง ส่งผลให้มีเลือดคั่งอยู่บริเวณขามากกว่าปกติ และทำให้เกิดอาการตัวบวมได้ อาการนี้มักเกิดในตอนเย็นของทุกวัน โดยเฉพาะช่วงที่อากาศร้อน
อาการบวมน้ำโดยทั่วไปไม่มีอันตราย ยกเว้น…

• เกิดอาการบวมตามใบหน้า หรือบริเวณรอบดวงตา
• เกิดพร้อมน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว (มากกว่า 1.8 กิโลกรัมใน 1 สัปดาห์)
• เกิดพร้อมอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
• เกิดพร้อมอาการสายตาผิดปกติ, มองเห็นภาพซ้อน, ภาพเบลอ, เห็นจุดแสง, ตาไวต่อแสง หรือมองไม่เห็นในบางครั้ง
• เกิดพร้อมอาการปวดช่วงท้องด้านบนอย่างรุนแรง หรือกดเจ็บ
• เกิดพร้อมอาการคลื่นไส้/อาเจียน

หากเกิดอาการบวมน้ำร่วมกับอาการเหล่านี้ คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับทารกและตัวคุณแม่เองได้